วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

การจัดการเรียนการสอนตามหลักการ BBL

การจัดการเรียนการสอนตามหลักการ BBL : Brain-based Learning

BBL (Brain-based Learning) คือ การนำองค์ความรู้เรื่องสมองและธรรมชาติการทำงานของสมองมาใช้ในการจัดกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ได้แก่การจัดกิจกรรมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญที่สุดคือ การออกแบบและการใช้เครื่องมือ/สื่อเพื่อการรียนรู้ต่างๆโดยประเด็นสำคะญคือ ต้องทำให้เด็กสนใจ ใคร่รู้ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสำคัญคือ เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพสมอง โดยการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยมีที่มาจากศาสตร์การเรียนรู้ 2 สาขาคือ

ความรู้ทางประสาทวิทยา (Neurosciences) ซึ่งอธิบายที่มาของความคิดและจิตใจของมนุษย์ โดยเฉพาะในด้านที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กับทักษะการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ ความเข้าใจ และความชำนาญ โดยผ่านทฤษฎีว่าด้วยการทำงานของสมองเป็นสำคัญ

แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theories) ต่างๆ ที่อธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสมองมนุษย์ และกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นและมีพัฒนาการอย่างไร

การบูรณาการองค์ความรู้ทั้ง 2 สาขาเข้าด้วยกัน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ตั้งอยู่บนฐานของการพิจารณาว่าปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลง สมองมีปฏิกิริยาตอบรับต่อการเรียนการสอนแบบใด และอย่างไร ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่การจัดกิจกรรมระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และที่สำคัญคือการออกแบบและใช้เครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ต่างๆ โดยเน้นว่าต้องทำให้ผู้เรียนสนใจ เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และการจดจำตามมา และนำไปสู่ความสามารถในการใช้เหตุผล เข้าใจความเชื่อมโยงสัมพันธ์ในทุกมิติของชีวิต

ซึ่ง สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน ) ได้นำความรู้ด้านประสาทวิทยาผสมผสาน กับการเรียนรู้ของสมองเด็กแต่ละช่วงวัยมาศึกษาหาแนวทางการจัดการเรียนที่เหมาะสม และได้ดำเนินการทดลองจัดการเรียนการสอนตามแบบBBL กับโรงเรียนต้นแบบจำนวน12โรงเรียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก หากสนใจหาความรู้เพิ่มเติม และรายละเอียดBBL ได้จาก http://www.nbl.or.th/

กระบวนการของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์



กระบวนการของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์


การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ๆ 4 ขั้นตอน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


1. การวางแผนกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งองค์การจะต้องทำการกำหนดทิศทางโดยรวมว่าต้องการที่จะทำอะไรอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของการวางยุทธศาสตร์หรือวางแผนกลยุทธ์ เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ (SWOT Analysis) และให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์สุดท้ายที่ต้องการขององค์การหรือวิสัยทัศน์ (Vision) อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission) วัตถุประสงค์ (Objective) เป้าหมาย (Target) และกลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategy) รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จขององค์การ (Critical Success Factors) และสร้างตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ในด้านต่างๆ


2. การกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลดำเนินงาน เมื่อผู้บริหารขององค์การได้ทำการตกลงร่วมเกี่ยวกับตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงานแล้ว จะเริ่มดำเนินการสำรวจเพื่อหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพในปัจจุบัน (Baseline Data) เพื่อนำมาช่วยในการกำหนดความชัดเจนของตัวบ่งชี้ดังกล่าว ทั้งในเชิงปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quality) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place) อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการของแต่ละตัวบ่งชี้


3. การวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ผู้บริหารจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น รายเดือน รายไตรมาส รายปี เป็นต้น เพื่อแสดงความก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ในบางกรณีอาจจะจัดให้มีคณะบุคคลเพื่อทำการตรวจสอบผลการดำเนินงานเป็นเรื่องๆไปก็ได้


4. การให้รางวัลตอบแทน หลังจากที่ได้พิจารณาผลการดำเนินงานแล้ว ผู้บริหารจะต้องมีการให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงานที่ได้ตกลงกันไว้ นอกจากนี้อาจจะมีการให้ข้อเสนอแนะหรือกำหนดมาตรการบางประการเพื่อให้มีการปรับปรุงผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้



ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์


ปัจัยสำคัญสำคัญที่จะทำให้การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ประสบความสำเร็จอยู่ที่ความเข้าใจแนวคิด วิธีการและประโยชน์ของวิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่จะสามารถปรับตัวและสามารถทำงานภายใต้ระบบงานที่จะต้องรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญมีดังต่อไปนี้


1. ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและสนับสนุน การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ คือ สนับสนุนในการจัดทำระบบวัดผลการปฏิบัติงาน การใช้ข้อมูลผลการวัดผลการปฏิบัติงาน การจัดสรรงบประมาณ การสร้างสิ่งจูงใจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ รวมถึงการมอบอำนาจในการตัดสินใจเพื่อแลกเปลี่ยนกับความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน


1.1 การกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน ผู้บริหารขององค์การจะต้องให้ความสำคัญและเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการเพื่อให้เกิดผล


1.2 การใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในการบริหาร ผู้บริหารจะต้องระลึกเสมอว่าการวัดผลไม่ได้ทำให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ข้อมูลจากการวัดผลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แก้ปัญหาได้ถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์อย่างรอบคอบเพื่อกำหนดมาตรการที่จะปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นต่อไป


2. การจัดระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงาน การจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงานจะต้องคำนึงเสมอว่า ระบบข้อมูลนั้นสามารถที่จะแสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์สู่เป้าหมายขององค์การได้ ซึ่งจะต้องจัดทำเพิ่มเติมขึ้นจากระบบข้อมูลเดิม ที่เน้นปัจจัยนำเข้าและกิจกรรมเพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจได้ดีขึ้น


2.1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ การเลือกตัวบ่งชี้ที่จำเป็นต่อการให้บริการและการตัดสินใจนั้น จะต้องเลือกตัวบ่งชี้ให้ครอบคลุมความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องพัฒนาโดยผู้ที่มีประสบการณ์ในงานด้านนั้นๆกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับงานนั้นๆด้วย โดยตัวบ่งชี้จะมีทั้งส่วนของปัจจัยนำเข้า กิจกรรม ผลผลิต และผลลัพธ์ รวมถึงตัวบ่งชี้ที่แสดงความพึงพอใจของผู้รับบริการ แต่ควรจะให้มีตัวบ่งชี้ในจำนวนเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการจัดทำและรักษาระบบข้อมูลนี้ด้วย


2.2 การวางระบบสารสนเทศเพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ผู้พัฒนาระบบจะต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโครงการหรืองานที่จะวัดผลการปฏิบัติงาน โดยต้องคำนึงถึงการจัดทำรายงานผลซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จะรายงานเป็นช่วงเวลาตามกำหนดทุกครึ่งปีหรือหนึ่งปี เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือการจัดทำงบประมาณประจำปี และส่วนที่เป็นการายงานเฉพาะกิจที่สามารถเรียกดูข้อมูลตัวบ่งชี้ได้ทันในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งความสำเร็จในการจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่ใช้ประโยชน์ได้จึงอยู่ที่การจัดทำข้อมูลที่สะท้อนผลงานจริง ทันเวลา และมีปริมาณข้อมูลที่เหมาะสม โดยมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัด


3. การพัฒนาบุคลากรและองค์การ ผู้บริหารทุกระดับถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานโครงการต่างๆให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้การพัฒนาผู้บริหารไว้ล่วงหน้าให้สามารถปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน ภายใต้สภาวะที่มีความคล่องตัวและมีอำนาจในการบริหารเพิ่มขึ้น ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีความรู้ในการวางแผนกลยุทธ์ การวัดผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานเพื่อการตัดสินใจในการทำงานประจำวัน ในขณะเดียวกันจะต้องมีระบบการพัฒนาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความชำนาญที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพที่จะสับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ได้ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเข้าใจเรื่องการวัดและการใช้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานประจำวันด้วย



สรุป การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management ;RBM) เป็นนวัตกรรมทางการบริหารที่ประเทศต่างๆที่พัฒนาแล้ว นำมาใช้ในการปฏิรูประบบราชการให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนก็กำลังจะใช้วิธีการบริหารรูปแบบใหม่นี้ ผสานกับเปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน (Performance Based Budgeting System ;PBBS) ทำการปฏิรูปองค์การภาครัฐ ให้สามารถจัดบริการสาธารณะให้เป็นที่พึงพอใจของประชาชนมากขึ้น หัวใจสำคัญของสำเร็จในการใช้วิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นอยู่ที่การสร้างตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicators ;KPIs) ที่มีความตรง เป็นที่ยอมรับ และสะดวกในการนำไปใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานขององค์การ.


ที่มา:http://isc.ru.ac.th/data/ED0003477.doc


การบริหารแบบมีส่วนร่วม

การบริหารแบบมีส่วนร่วม

ความหมาย การบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ แนวความคิดพื้นฐาน(Basic Assumption)

จากทฤษฎี การจูงใจของ Molivation Theory เชื่อว่า

1. มนุษย์ย่อมมีความต้องการเหมือน ๆ กันตราบใดที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้แล้ว ก็จะเกิดปัญหาความต้องการอยู่เรื่อยไป แต่ถ้าความต้องการได้รับความตอบสนอง ก็จะเลิกสนใจ

2. มนุษย์ตอบความสนองความต้องการแตกต่างกันทางด้านปริมาณ ความต้องการระดับต่ำค่อนข้างมีขอบเขตจำกัด แต่ความต้องการระดับสูงมักจะไม่มีขอบขีดจำกัด

จากทฤษฎีการจูงใจของ Harzberh (Mptovatopm Hygiene Theory) เชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจให้คนทำงาน คือ

1. ความสำเร็จ

2. การยกย่อง

3. ความก้าวหน้า

4. ลักษณะงาน

5. ความรับผิดชอบ

6. ความเจรฺญฟเติบโตส

จากการศึกษาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ของ Aravris ได้เผยว่า บุคคลที่มีวุฒิภาวะ จะมีบุคลิกภาพที่ต้องการเป็นของตนเอง การบริหารแบบมีส่วนร่วมช่วยให้บุคคลได้พัฒนาบุคลิกภาพของตนในด้านการตัดสินใจ และการควบคุมการทำงาน การแสดงออก ทัศนคติ และการใช้ความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้

องค์การต้องใช้ความสามารถของพนักงานอย่างเต็มที่ เพื่อกระจายอำนาจในการตัดสินใจ และเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีความไม่แน่นอน และแตกต่างกันอย่างรวดเร็ว

เทคนิคการใช้บริหารแบบมีส่วนร่วม

1. การใช้กลุ่มงานเฉพาะกิจและคณะกรรมการ (Special Task Forces and Committee)

2. กรรมการให้คำแนะนำ

3. การใช้แนวความของหมุดเชื่อมโยง (Linkeng Pin)

4. การติดต่อสื่อสารแบบประตู

5. การระดมความคิด

6. การฝึกอบรมแบต่าง ๆ

7. การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ (MBO)

วิธีการใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วมสมัยใหม่

1. ระดับบุคคล เป็นวิธีการพิจารณาและปรับปรุงบุคคลให้ได้ดีขึ้น 3 แบบ คือ

1.1 การฝึกอบรมให้มีความรู้สึกไว (Sensitivity Training ) เพื่อ

1. ให้เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของมนุษย์

2. ให้รู้จักยอมรับ และพัฒนาตนเอง

3. ได้เข้าใจและยอมรับผู้อื่นให้มากขึ้น

4. ให้มีมนุษย์สัมพันธ์ดีจึ้น

5. เพื่อให้มีความสุข มีขวัญ และกำลังใจดีขึ้น

6. เพื่อให้มีการงานดีขึ้น

1.2 การวิเคราะห์การติดต่อ (Transactional Analysis )เป็นวิธีการติดต่อที่แลกเปลี่ยนด้วยภาษาและไม่ใช่ภาษาระหว่างบุคคล Erio Berne ชี้ให้เห็นว่า การติดต่อระหว่างบุคคลมี3 แบบ คือ แบบพ่อแม่ (Parent ) ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ (Adult) เด็ก (Child)
1.3 การนั่งสมาธิแบบควบคุมจิต (Trancendental Meditation) คือ การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด และเพื่อความคิดสร้างสรรค์

2. ระดับกลุ่ม

· การรวมกลุ่มแบบครอบครัว (Family Grouping)

· การฝึกอบรมเพียงในนาม (Norminal Group Training ) หมายถึง บุคคลถูกรวมเข้าเป็นกลุ่ม แต่ไม่ได้สื่อสารด้วยวาจา จะเป็นการประชุมพร้อมกันที่โต๊ะเพื่อแก้ปัญหา ต้องการใช้คำถามที่เป็นลายลักษณ์อักษร สมาชิกจะใช้เวลาเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยไม่พูดจากัน

· เทคนิค เดลไพ (SDelphi Technique)เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดกลุ่มที่ปรึกษาและกลุ่มผู้ตอบ แล้วสร้างแบบสอบถามส่งไปรษณีย์ ผู้ตอบมายังทีมที่ปรึกษา แล้วเอามาสรุปการตแบสอบถาม

ประโยชน์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม

1. ช่วยสร้างความสามัคคี และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ

2. ช่วยให้ทราบถึงความต้องการขององค์การทั้งหมด

3. ช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น ลดความเฉื่อยชาในการทำงาน การย้ายงานและการหยุดงาน

4. ช่วยลดความขัดแย้ง และการต่อต้านจากพนักงานระดับต่ำ

5. ช่วยสร้างบรรยากาศในการทำงาน และทำให้สุขภาพจิตในองค์การดีขึ้น

6. ช่วยเพิ่มผลผลิตในองค์กร

7. สร้างหลักประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในองค์การ

8. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและทะนุถนอม

9. ทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ

10. เป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ในด้านการควบคุมงานให้ลดน้อยลง และทำให้ผลงานดีชึ้น

ที่มา:http://www.kunkroo.com/admin1.html

นวัตกรรมสร้างสรรค์ความสุขในการบริหารทรัพยากรมนุษย์



นวัตกรรมสร้างสรรค์ความสุขในการบริหารทรัพยากรมนุษย์


คำว่า นวัตกรรมในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล” (HR Innovations) ผู้คนทั่วไปมักจะนึกถึง การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เช่น ระบบซอฟแวร์ ในการจัดการฐานข้อมูล บางคนอาจจะให้ความหมาย ถึงเครื่องมืออุปกรณ์ แต่ที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นนวัตกรรมของการสร้างวิธีการทำงานใหม่ ที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ มิได้หมายความถึงเทคโนโลยี แต่เป็นความคิดที่แปลกใหม่ คนคิดก็มีความสุขในการคิด คนที่มีส่วนร่วมก็มีความสุขในการปฏิบัติ เพื่อนำมาใช้ในการใช้สร้างความสุข



หากถามถึงสิ่งที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขในการทำงาน บางคนบอกว่า มีหลายลักษณะ หากมองทางด้านกายภาพ เช่น สภาพแวดล้อม ภาวะอันตรายเสี่ยงภัยในการเดินทางมาทำงาน หากมองในแง่ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ก็คงจะหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่มีการปฏิบัติที่ไม่ดี มีความขัดแย้งเอาเปรียบ ไม่เป็นมิตร หรือองค์กรที่ทำงานแล้วเกิดการเอาเปรียบแก่งแย่งแข่งขันกันเอง บางองค์กรก็เน้นแต่เรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยผลงานก็ไมได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่ในทางตรงข้าม หากมองในแง่ปัจจัยภายใน องค์การที่ให้ความเป็นอิสระเป็นกันเองและยืดหยุ่นในการทำงาน จะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจแก่พนักงานได้มากกว่า หากสิ่งที่ทำให้เกิดความสุข เป็นความพึงพอใจเป็นสังคมที่น่าอยู่ เราลองมาดูการปฏิบัติของบางองค์การกันดู



กล่าวคือเป็นองค์กรที่อิสระให้ความสำคัญกับคน ความคิดของคน ที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น โดยที่องค์การแห่งนี้ตั้งอยู่ในสังคมเมืองหลวง ท่ามกลางบรรยากาศตึกสูงๆ ที่เรียกว่าเป็น ป่าคอนกรีตไม่มีสถานที่โล่งที่จะนั่งเล่น การพักผ่อนหรือเล่นกีฬา ในสำนักงานก็มีเพียงโต๊ะเก้าอี้ รูปภาพ อุปกรณ์สำนักงาน เมื่อลงมาจากลิฟท์บนตึกสูง มองมาด้านล่างก็เจอแต่ผู้คน รถติด จะให้มีกิจกรรมสนุกสนาน พนักงานจำนวนมาก เช่นดังโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีเครื่องจักร พนักงานมากหน้าหลายตา บริเวณพื้นที่กว้าง ก็คงจะไม่ได้ แต่วิถีชีวิตของพนักงานสำนักงานที่ต้องใช้ความคิด การใช้พลังสมองในการที่จะพัฒนาการทำงานหรือการให้บริการ ที่บริษัท เปิดโอกาสให้ เป็นการใช้ความคิดของพนักงานที่รู้จักนำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ความสุขมาใช้ ให้เหมาะสมกันบุคคลตามยุคสมัย จริงอยู่ในสังคมเมืองกรุงอาจจะมีพนักงานที่ปฏิบัติตนแบบสังคม นิยมพูดคุยเรื่องการแต่งกาย แฟชั่นที่ล้ำยุคสมัย ดูหนัง ฟังเพลง ทานอาหารอร่อยมีราคาบ้าง หรือไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูง สังคมของพนักงานส่วนใหญ่จะมีความสุข ที่ตนได้มีโอกาสได้กระทำหรือปฏิบัติเช่นนั้น มีโอกาสอย่างนั้น ซึ่งบริษัท ก็พยายามคิดค้นว่า สังคมของพนักงานมีความสุขอย่างไร ก็ลองหาทางที่จะสร้างบรรยากาศเพื่อให้พนักงานได้มีความสุขไม่ได้จัดขวาง แต่ส่งเสริม หากเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นความสุขของพนักงาน ภายใต้การทำกิจกรรมร่วมกันแบบง่ายๆ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากมาย เช่น เมื่อพนักงานรู้สึกว่าการได้มาทำงาน ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง ไม่เป็นทางการ ระหว่างหัวหน้า ลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงาน ไม่จำเป็นจะต้องมีกฎระเบียบที่เคร่งครัด ต้องสวมเครื่องแบบมาทุกวัน ดูช่างเป็นเรื่องที่น่าจะอึดอัด พนักงานก็จะไม่ได้มีหน้าที่ไปให้บริการลูกค้าโดยตรงอะไรมากนัก หากวันใดได้แต่งตัวสวยๆ ตามรูปแบบที่ตนเองชอบ ก็จะมีความสุข จึงจัดให้มีกิจกรรมประจำปี ให้พนักงานทุกคน แต่งตัวตามสบายมาทำงาน แต่มีกิจกรรมการประกวด คือ เช่นมีอยู่ในช่วงปีก่อนหน้านี้ ให้มีกิจกรรมแต่งกายด้วยเสื้อยืดมาทำงาน พนักงานทุกคนก็พร้อมใจใส่เสื้อยืดมาทำงาน เมื่อเกิดความรู้สึกว่าการทำงานกับบริษัท เป็นเรื่องการปฏิบัติตนง่ายๆ ไม่ได้มีระเบียบพิธีรีตองอะไรมากนัก พนักงานก็รู้สึกสบายใจ ในปีต่อๆ มาก็คิดต่อว่า จะเน้นการประกวดแข่งขันกันในเรื่องใด ก็ช่วยกันคิด จัดให้มีกิจกรรมการประกวดการสวมใส่เสื้อผ้า กิจกรรมสวมใส่รองเท้า มีการคัดเลือกพนักงานที่แต่งตัวสวยเด่น หรือเป็นที่สะดุดใจแก่การพบเห็น ให้มีระบบการโหวตให้คะแนนกัน ในปีแรก ก็ได้รับความสำคัญ ในปีต่อๆมา พนักงานก็คิดกันเอง ว่าปีต่อๆไป จะเน้นจุดใดเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ก็มีการนำเสนอกันมา เช่นเห็นว่า การนุ่งกางเกงยีนส์ ดูจะเป็นการสะดวกแก่ทุกคนในการเคลื่อนไหวอริยาบท ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน นั่ง หรือวิ่ง ให้ทุกคนสวมกางเกงยีนส์มาทำงาน ทุกคนมีความสุขที่ได้นุ่งยีนส์ มาทำงานทุกวัน กิจกรรม สมาร์ทยีนส์ 2005 จึงเกิดขึ้น เมื่อมีความเหมือนกันหมด คนก็จะพยายามสรรหาจุดที่เด่นหรือแปลกสะดุดตากว่าคนอื่นๆ เพื่อรอรางวัลประเภทสุดจ๊าบ... อะไรทำนองนั้น ในขณะที่ผลการทำงานก็อยู่ในระดับปกติหรือดีขึ้นมิได้ตกต่ำไปกว่าเดิมแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าเมื่อคนมีความสุขก็จะเป็นบรรยากาศการทำงานที่เป็นพลังนำไปสู่ความสำเร็จได้ คนอยากจะใส่มาทำงานทุกวัน และปีต่อมา ก็นึกว่าจะมีกิจกรรมกันอย่างไรดี ในที่สุดก็โหวตว่าน่าจะเป็นการร่วมกันประกวดการสวมใส่รองเท้าดูบ้าง และมีการใช้ความคิดอีกต่อไปว่าจะประกวดการจัดและตบแต่งสถานที่ทำงานของแต่ละหน่วยงานให้ดูสวยงาม และนำมาสู่การประกวดแข่งขันกัน ส่งเสริมบรรยากาศน่าอยู่ น่าทำงาน ให้เป็นเสมือนบ้านแห่งที่สอง ผ่อนคลายหรือเปลี่ยนแปลงจากความรู้สึกว่าภายนอกอาคารคือท้องถนนที่การจราจรมีปัญหา รถติดหนัก ปัญหามลพิษไม่มีอะไรน่ารื่นรมณ์ หรือยังไม่อยากจะรีบกลับบ้านทันทีเมื่อเลิกงาน แต่นั่งทำงานต่อในบรรยากาศสถานที่ทำงานที่น่าอยู่ รอสักประมาณ 6 โมงเย็นหรือมืดไปแล้ว การจราจรเริ่มดีขึ้นค่อยกลับบ้านก็จะดีกว่า



ตัวอย่างอีกองค์กรหนึ่งที่เป็นสำนักงานบัญชี (ตั้งอยู่ย่านถนนรัชดาภิเษก) พนักงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ผู้บริหารบริษัท ก็เปิดโอกาสให้ทุกคนแต่งตัวกันตามสบาย แต่ต้องสุภาพ แม้จะทำงานกันสัปดาห์ละ 6 วัน แต่วันเสาร์ ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่อาจจะหยุดงาน แต่สำนักงานบัญชีแห่งนี้ไม่หยุด เพื่อมิให้พนักงานรู้สึกน้อยใจและเบื่อหน่าย ผู้บริหารก็พยายามสร้างบรรยากาศ ให้รู้สึกว่าแม้จะเป็นวันเสาร์ทำงานแต่อยากจะให้พนักงานคิดว่าวันเสาร์คือวันหยุดพักผ่อนของพนักงาน แต่เพียงมีกิจกรรมพิเศษที่ได้แวะมายังสถานที่ทำงาน จึงให้ทุกคนแต่งตัวกันตามสบายมากขึ้น และให้มีกิจกรรมเล็กๆ คือให้ทุกคนนำอาหารขึ้นมาทานเลี้ยงกันได้ และหลังเที่ยงไปแล้วก็ให้ดัดแปลงห้องทำงานให้เป็นห้องร้องเพลงคาราโอเกะ พยายามสร้างสรรค์ความสุขให้ทุกคน ใครที่อยากจะร้องเพลงจนรู้สึกว่าเบื่อแล้วก็มาเคลียร์งานจนถึง 5 โมงเย็นก็เลิกงานกลับไป ซึ่งหลายครั้งที่พนักงานจะไปเที่ยวสังสรรค์กันต่อไป



จึงเห็นว่า การที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อการผ่อนคลายหรือสร้างความสุขให้แก่พนักงานมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์การ บางองค์การหากผู้บริหารและพนักงานเข้าใจและยอมรับได้ก็ไม่มีปัญหา แต่หากวัฒนธรรมที่เคร่งครัดในเรื่องระเบียบเช่น กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมแบบญี่ปุ่น ที่ต้องการความเป็นระเบียบ และเน้นวินัยการแต่งกาย ก็อาจจะปฏิบัติได้เช่นกันหากผู้บริหารเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว แต่ทุกคนต้องมีการควบคุมตนเอง มีวินัยในตนเองรู้สำนึกรับผิดชอบ


ที่มา:http://www.hrcenter.co.th/hrknowview.asp?id=674


โรงเรียนมาตรฐานสากล

โรงเรียนมาตรฐานสากล

(World - Class Standard School)

1. ลักษณะการเป็นมาตรฐานสากล ประกอบด้วย

1) การจัดการเรียนการสอน (หลักสูตรและการสอน)

2) บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ

2. คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลมี ดังนี้

1) ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen) [เป็นเลิศวิชาการ,สื่อสารสองภาษา,ล้ำหน้าทางความคิด , ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ ,ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก

2) การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World – Class Standard)

3) บริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management)

3. วัตถุประสงค์โรงเรียนมาตรฐานสากล

1) พัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพเป็นพลโลก (World Citizen)

2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล (World Class Standard)

3) ยกระดับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ (Quality System Management)